วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเสียกรุงศรีอยุธยา





การเสียกรุงศรีอยุธยา

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1
            กรุงศรีอยุธยาตกเป็นของพม่าครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112 ในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช สาเหตุของการเสียกรุงเนื่องมาจาก
            1.  เกิดความแตกสามัคคีกันระหว่างสมเด็จพระมหินทราธิราชกับพระมหาธรรมราชาเนื่องมาจากการยุยงของข้าศึก
            2.  ไทยขาดกำลังใจต่อสู้เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรวรรดิสวรรคตในขณะบัญชาการศึก
            3.  พระยาจักรีซึ่งเป็นแม่ทัพไทยเป็นไส้ศึกให้แก่พม่า
            4.  ไทยว่างเว้นการสงครามมานาน พอมีศัตรูมารุกรานก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

เหตุการณ์ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1
            ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 มีเหตุการณ์ลำดับได้ ดังนี้
            1.  ใน พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมารุกรานไทย แต่ไม่สำเร็จ และในสงครามครั้งนี้ไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญคือ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยซึ่งเป็นพระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
            2.  ใน พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ต้องการจะมีอำนาจสูงสุดในภูมิภาคนี้ จึงหาเหตุมาขอช้างเผือก 2 เชือกจากช้างเผือก 7 เชือกที่พระมหาจักรพรรดิทรงจับได้ พระมหาจักรพรรดิไม่ยอมให้จึงเกิดการต่อสู้กัน ไทยเสียเปรียบจึงต้องยอมยกช้างเผือก 4  เชือก และต้องส่งพระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามไปเป็นตัวประกันที่เมืองพม่า
            3.  ใน พ.ศ. 2111  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้สมเด็จพระมหินทราธิราชซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์เสด็จออกผนวช ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่เป็นเวลานาน แต่ตีเข้าไม่ได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ลาผนวชออกมาบัญชาการศึก และสิ้นพระชนม์ในระหว่างการรบ ทำให้คนไทยขาดขวัญและกำลังใจ
            4.  พม่าทำอุบายส่งตัวพระยาจักรีกลับคืน โดยให้เป็นไส้ศึกให้กับกองทัพพม่า ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาจึงพ่ายแพ้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ใน พ.ศ. 2112 ซึ่งเป็นการสูญเสียเอกราชของคนไทยเป็นครั้งแรก

การประกาศอิสรภาพ
            ไทยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2112 จนถึง พ.ศ. 2127 เป็นเวลาถึง 15  ปี เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาซึ่งถูกจับไปเป็นตัวประกันในสมัยพระมหาธรรมราชาขึ้นครองราชย์ ถูกส่งตัวกลับมาแล้ว พระองค์จึงได้ทรงดำเนินการกู้อิสรภาพเป็นระยะ ดังนี้
            1.   การเตรียมคนฝึกการรบแบบทันสมัย เช่น การซุ่มโจมตี หรือการรบแบบกองโจร
            2.  การเตรียมบ้านเมือง โดยสร้างคูเมืองกว้างและลึกรอบพระนคร
            3.  การเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น ปืนเล็ก ปืนใหญ่ ช้าง ม้า พาหนะต่าง ๆ
            ใน พ.ศ. 2124 พระเจ้านันทบุเรงเป็นกษัตริย์พม่าต่อจากพระเจ้าบุเรงนอง  เห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีฝีในการรบ จึงเกรงว่าจะเป็นผู้กู้อิสรภาพกรุงศรีอยุธยา จึงคิดหาทางกำจักเสีย ใน พ.ศ. 2126 พระเจ้า       อังวะแข็งเมือง พระเจ้าหงสาวดีจึงให้เจ้าเมืองประเทศราชยกทัพไปปราบปราม รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาซึ่งตกเป็นประเทศราชของพม่าด้วย เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปถึงกลางทางก็สืบทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดร้ายต่อพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงประกาศเอกราชตัดความสมพันธ์กับพม่าเมื่อเดือน 6  พ.ศ. 2127 จึงถือว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงกู้อิสรภาพของไทยครั้งที่ 1 ได้สำเร็จใน พ.ศ. 2127
            ตั้งแต่ พ.ศ. 2127 จนถึง พ.ศ. 2135 พม่าสั่งเดินทัพใหญ่เข้ามาอีกหลายครั้งหมายจะปราบปรามกรุงศรีอยุธยาไว้ใต้อำนาจอีก แต่ถูกสมเด็จพระนเรศวรตีพ่ายกลับไปทุกครั้ง จนกระทั่งสมเด็นพระนเรศวรมหาราชมี     ชัยชนะในการกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ซึ่งเป็นแม่ทัพพม่าที่เมืองสุพรรณบุรี ไทยจึงว่างเว้นจากการทำสงครามเป็นเวลานานถึง 150 ปี

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
            ใน พ.ศ. 2295 พระเจ้าอลองพญาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พม่า พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งและมีพระราชประสงค์จะขยายอาณาเขต จึงยกทับมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ไม่สำเร็จ จึงถอยทัพกลับไปและสิ้นพระชนม์ในระหว่างทาง ต่อมาพระเจ้ามังระซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอลองพญาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงสั่งเดินทัพเข้ามา 2 ทาง โดยทัพแรกมอบให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพยกมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยา แล้วให้ย้อนกลับมาตีกรุงศรีอยุธยา ส่วนทัพที่ 2 มอบให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพยกทัพมาตีเมืองทวายและกาญจนบุรี แล้วให้มาสมทบกับเนเมียวสีหบดีเพื่อล้อมกรุงศรีอยุธยาพร้อมกัน พม่าล้อมกรุงอยู่นาน1 ปี 2 เดือน ก็สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ
            ในขณะที่เกิดสงครามนั้น พระยาตากสินถูกเกณฑ์ให้มาช่วยรักษาพระนครและได้แสดงฝีมือการรบจนได้เบื่อนยศเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมารู้สึกท้อแท้ใจเนื่องจากพระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์ที่ไม่มีความสามารถ จึงได้รวบรวมคนไทยประมาณ 500 คน ตีฝ่าทัพพม่าออกมาได้สำเร็จ และถูกฝ่ายพม่าติดตามแต่ก็สามารถตีพม่าแตกพ่ายไป ทำให้มีราษฎรมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก และตั้งค่ายอยู่ที่จันทบุรี เมื่อรวบรวมคนไทยได้ประมาณ 5,000 คน และมีเรือรบอีกประมาณ 100 ลำ พระยาตากสินจึงยกทัพเข้าตีกองทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งขณะนั้นมีสุกี้พระนายกองคุมกองทัพอยู่
            พระยาตากสินทำการรบอย่างกล้าหาญได้รับชัยชนะ สามารถยึดค่ายได้ เจ้านายและข้าราชการจึงพร้อมใจกันอัญเชิญให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ในปลาย พ.ศ. 2310 พระองค์ทรงใช้เวลาในการกู้อิสรภาพกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้หลังจากที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าครั้งที่ 2 เพียง 7 เดือนเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น